Loading...
[email protected] (+662) 105 3705 Membership Team : (+668) 246 69651 Licensing Team : (+668) 394 23663 Official Time : Mon-Fri 09:30am-5.30pm

ประเภทสิทธิและกฏหมาย

ลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรม

เพลงหนึ่งเพลง มีงานอันมีลิขสิทธิ์ 2 งาน คือ

1. งานดนตรีกรรม ( ทำนอง ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีคำร้อง )

2. งานสิ่งบันทึกเสียง ( วัสดุที่เสียงถูกบันทึกลงไปไม่ว่าในรูปแบบใดๆ ที่สามารถนำมาเล่นซ้ำได้อีก ) โดยส่วนใหญ่ค่ายเพลงจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานสิ่งบันทึกเสียง ส่วนลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมนั้นแล้วแต่สัญญาระหว่างผู้ประพันธ์กับค่ายเพลงว่าตกลงกันให้ใครเป็นผู้ถือสิทธิหรือถือสิทธิร่วมกัน แต่ทางบริษัทฯ แนะนำให้ผู้ประพันธ์ยังคงถือสิทธิในงานดนตรีกรรมไว้ทั้งหมด

สิทธิที่เกี่ยวข้องกับงานดนตรีกรรมอันมีลิขสิทธิ์หลักๆมีอยู่ 3 ประเภท

หากเป็นการเผยแพรต่อสาธารณชนโดยการเปิดเพลง (เช่น ไฟล์ดิจิตอล ซีดี ดีวีดี) ผู้ใช้งานจะต้องขออนุญาตทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานสิ่งบันทึกเสียง (ไฟล์หรือแผ่นดังกล่าว) และงานดนตรีกรรม (ทำนอง มีหรือไม่มีคำร้อง) แต่หากเป็นการนำเพลงนั้นๆ ไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยการขับร้อง ( เช่น การ cover เพลง หรือ ร้องสดในงานevent/concert โดยไม่มีการเปิด backing track ) ผู้ใช้งานจะต้องขออนุญาตเพียงเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมเท่านั้น
สิทธิในการทำซ้ำนั้นมีทั้งในรูปแบบเป็นวัสดุจับต้องได้ (Physical) เช่น การนำไปแผ่นซีดี หรือในรูปแบบของไฟล์ (digital) ซึ่งการทำซ้ำจะเกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ จะเห็นได้ว่าการใช้งานในช่องทางดิจิตอลจะต้องมีการทำซ้ำเสมอ การเผยแพร่ต่อสาธารณชนในช่องทางนี้จึงต้องได้รับสิทธิในการทำซ้ำเพื่อจุดประสงค์ในการเผยแพร่ควบคู่กันไปด้วย
หรือเรียกสั้นๆว่า สิทธิ sync ซึ่งเป็นการทำซ้ำในรูปแบบหนึ่ง ที่ต้องชำระค่าสิทธิต่างหากจากการทำซ้ำโดยทั่วไป การทำซ้ำประเภทนี้คือการนำงานดนตรีกรรมไปทำซ้ำประกอบภาพเคลื่อนไหว ยกตัวอย่าง เช่น ในงานโฆษณา โดยการขออนุญาตประเภทนี้จะมีอัตราค่าสิทธิที่แตกต่างกันในเจ้าของลิขสิทธิ์แต่ละรายและแต่ละประเภทของการใช้งาน ซึ่งจะต้องมีการสอบถามกับทางเจ้าของสิทธิเป็นกรณีๆ ไป

สิทธิหลักๆที่ทางMCT ได้รับมอบอำนาจจากทางเจ้าของลิขสิทธิ์ให้ดูแลจะเป็นสิทธิในการเผยแพร่ต่อสาธารณชนในงานดนตรีกรรม ซึ่งจะมีการแยกประเภทการใช้งานหลากหลายประเภท สามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก ( หน้า “ อัตราค่าสิทธิ ”)


Scroll to Top