MCT ไม่สามารถจัดตั้งในรูปแบบองค์กรไม่แสวงกำไรเช่น สมาคม หรือ มูลนิธิ ได้เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นกำหนดว่า การจัดตั้งสมาคมและมูลนิธินั้น ต้องมีวัตถุประสงค์ที่มิใช่การหาประโยชน์มาแบ่งปันกัน ดังนั้นการดำเนินงานขององค์กรบริหารจัดการลิขสิทธิ์ที่ต้องดำเนินการจัดเก็บ และจัดสรรค่าสิทธิ์ให้กับสมาชิกนักแต่งเพลงผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงต้องจัดตั้งในรูปแบบบริษัท และหาแนวทางที่สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่จะทำให้ MCT สามารถจัดสรรรายได้ค่าสิทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายให้กับสมาชิกนักแต่งเพลง
1. เพลงต่างประเทศ โดย MCT ได้เซ็นสัญญาต่างตอบแทนในการดูแลเพลงให้กับองค์กรในต่างประเทศในปัจจุบัน จำนวน 40 องค์กร ครอบคลุมกว่า 90 ประเทศทั่วโลก ซึ่งหมายถึงการดูแลเพลงต่างประเทศที่เผยแพร่ในไทยเกือบ 100%
2. เพลงไทย โดย MCT ดูแลเพลงของสมาชิกในปัจจุบันทั้งสิ้นจำนวน 397 ท่าน คลอบคลุมเพลงที่ดูแลประมาณกว่า 20,000 เพลงของสมาชิกนักแต่งเพลง MCT และอีกกว่า 30,000 เพลง จากสมาชิกคู่ค้าทางกลยุทธ์
- MCT คือองค์กรบริหารจัดการค่าสิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชน งานดนตรีกรรมที่สร้างสรรค์โดยนักแต่งเพลง โดยทาง MCT ทำหน้าที่ดูแลสิทธิงานดนตรีกรรมทั้งเพลงไทยและเพลงสากลของสมาชิก
- Phonorights คือ องค์กรบริหารจัดการสิทธิเผยแพร่งานสิ่งบันทึกเสียงเพลงสากลที่สร้างสรรค์โดยบริษัทเทป
- MPC Music เป็นหน่วยงานอนุญาตให้ใช้สิทธิ จัดเก็บค่าสิทธิที่เกิดจากการร่วมมือกันของทั้งสององค์กร โดยร่วมมือเฉพาะส่วนงานจัดเก็บ ซึ่งจัดตั้งในรูปแบบบริษัท จำกัด เมื่อ MPC Music จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์แล้ว ก็จะทำการส่งค่าลิขสิทธิ์ให้กับทั้งสององค์กรโดยแยกประเภทค่า สิทธิตามงานลิขสิทธิ์อย่างชัดเจนคือ
- งานดนตรีกรรม จัดส่งให้ MCT
- งานสิ่งบันทึกเสียงเพลงสากล จัดส่งให้ Phonorights
MCT ดูแลจัดเก็บค่าสิทธิในส่วนการเผยแพร่ต่อสาธารณชนให้กับสมาชิก โดยไม่แสวงผลกำไร ดำเนินการอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ โดยหลังหักค่าใช้จ่ายการดำเนินงานของบริษัทฯ แล้ว เราจะทำการจัดสรรค่าสิทธิให้นักแต่งเพลงทั้งหมดตามข้อมูลปริมาณการใช้เพลง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้
1. MCT เป็นองค์กรนักแต่งเพลงของไทยองค์กรเดียว ที่ได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์กร CISAC และเซ็นสัญญาต่างตอบแทนกับองค์กรนักแต่งเพลงในประเทศต่างๆ โดยข้อบังคับหลักขององค์กร คือ ต้องไม่แสวงผลกำไร ดังนั้น MCT ต้องส่งรายงานผลการประกอบการให้ CISAC และองค์กรนักแต่งเพลงในประเทศต่างๆ ทุกปี
2. MCT ส่งรายงานประจำปีให้แก่นักแต่งเพลง และกรมทรัพย์สินทางปัญญาให้รับทราบการดำเนินงานทุกปี
ในเบื้องต้น ต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่าการจัดสรรค่าสิทธิตามปริมาณการใช้เพลงของ สถานประกอบการให้ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก (ยกเว้นค่าลิขสิทธิ์นั้นจะมาจากคอนเสิร์ต) เพราะเราไม่มีทางรู้ได้ว่า กิจการต่างๆมีการเปิดหรือใช้เพลงใดบ้างอย่างครบถ้วนตลอด 24 ชั่วโมง หากเราต้องการให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุด นั่นก็คือการที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงในการจ้างคนหรือใช้กระบวนการต่างๆ ที่จะจัดให้ได้ข้อมูลการใช้งานจริงจากทุกๆกิจการที่จ่ายค่าสิทธิ ดังนั้นจึงต้องประยุกต์หลักการสถิติเกี่ยวกับการสุ่มตัวอย่าง (Random Sample) มาใช้ เช่น สุ่มตัวอย่างการใช้เพลงในคลื่นสถานีวิทยุ เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการจะให้ได้ซึ่งข้อมูลการใช้เพลงที่ใกล้เคียงความจริงมาก ย่อมต้องมีการสุ่มตัวอย่างมาก และย่อมมีค่าใช้จ่ายสูงในการสุ่มตัวอย่างเป็นวงกว้างเช่นกัน แต่ ณ ปัจจุบัน MCT ได้ลงทุนในการใช้ระบบการตรวจจับข้อมูลเพลงจากประเทศสเปน ที่มีชื่อว่า BMAT โดยระบบ BMAT จะสามารถเก็บข้อมูลเพลงที่มีการใช้งานตามจริงสำหรับสถานีวิทยุ และ สถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ จึงทำให้ในปัจจุบัน ทาง MCT สามารถเก็บข้อมูลการใช้งานเพลงมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากนั้นการที่มีค่าใช้จ่ายสูงเพิ่มขึ้นย่อมหมายถึง เงินค่าสิทธิ (ที่เหลือหลังจากการหักค่าใช้จ่าย) ที่สามารถจะจัดสรรให้นักแต่งเพลงย่อมน้อยลง ดังนั้นองค์กรจัดเก็บค่าสิทธิเผยแพร่ ต้องชั่งน้ำหนักความสำคัญระหว่างเงินจัดสรรและค่าใช้จ่ายในการสุ่มตัวอย่าง ข้อมูลการใช้เพลงให้มีความเหมาะสมกัน
สมาชิกนักแต่งเพลง บริษัท ลิขสิทธิ์ดนตรี (ประเทศไทย) จำกัด กว่า 400 ท่าน ขอขอบคุณทุกท่านที่ไว้ว่างใจให้เราดูแลผลประโยชน์ทางความคิดของท่าน บริษัท ลิขสิทธิ์ดนตรี (ประเทศไทย) จำกัด จะดูแลผลประโยชน์ให้ดีที่สุด ขอขอบคุณค่ะ
งานลิขสิทธิ์มี 9 ประเภท ได้แก่ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ
“เพลง” เป็นงานดนตรีกรรมอันมีลิขสิทธิ์และได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
การนำเพลงที่ไม่ใช่ของตนเองไปใช้
- ทำซ้ำ
- ดัดแปลง
- เผยแพร่ต่อสาธารณะชน
เก็บค่าลิขสิทธิ์จากผู้ใช้ที่นำเพลงไปเผยแพร่ในเชิงพาณิชย์ หรือการหาผลประโยชน์โดยนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณชน
ตลอดช่วงชีวิตของผู้ประพันธ์ และลิขสิทธิ์มีอายุอีก 50 ปี หลังจากผู้ประพันธ์เสียชีวิต